รายละเอียด:
ผลงานของ มรกต เจวจินดา
ประเภทปก อ่อน
กระดาษ ปอนด์
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2543
จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการจัดงานฉลอง 100 ปี รัฐบุรุษอาวุโส ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ พ.ศ.2543
จำนวนหน้า 397 หน้า
ขนาด 145x210 มม.
สภาพหนังสือ:ปกมีรอยขีดข่วนเล็กน้อย , สันหนังสือด้านบนเป็นจุดเหลืองประปราย , ตัวเล่มสภาพดี
รายละเอียดเพิ่มเติม:
ผลงานของมรกต เจวจินดา ชิ้นนี้ดัดแปลงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโท อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475 - 2526" (ทำสำเร็จเมื่อปี 2537)
สารบัญ
- ระบอบใหม่กับภาพลักษณ์นายปรีดี 2475-2488
- การสร้างตำนานปิศาจทางการเมือง
- ความคลี่คลายและการเสื่อมพลังทางปิศาจทางการเมือง
- ปัญญาชนไทยกับการสร้างนายปรีดี พนมยงค์ ให้เป็นสัญลักษณ์
- สรุป
- บรรณานุกรม
หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือหายากไปทันทีที่ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีผู้แต่งในข้อหาหมิ่นประมาท
เรื่อง หนังสือ “ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2526” และ “ข้อหาหมิ่นประมาทคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
เรียน กัลยาณมิตร
(หนึ่ง) หนังสือ "ภาพลักษณ์ปรีดีฯ" ดังกล่าวนั้น ผม (ในฐานะประธานอนุกรรมการฝ่ายนิทรรศการ ของ คณะกรรมการจัดงานฉลอง 100 ปี รัฐบุรุษอาวุโส ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ พ.ศ. 2543 อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของไทย ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และในฐานะประธานคณะกรรมการจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ในขณะนั้น) เป็นผู้นำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่เมื่อปี 2543
(สอง) หนังสือ “ภาพลักษณ์ปรีดีฯ” ดังกล่าวดัดแปลงมาจากผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาโทดีเด่นของคุณมรกต เจวจินดา ที่เขียนขึ้นเมื่อปี 2536 โดยมีที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คือ ดร. สุวดี ประสิทธิ์พัฒนา (จุฬา) และมีคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ คือ. ศ. ปิยนาถ บุนนาค (จุฬา) ดร. สมบัติ จันทรวงศ์ (มธ.) และ อ. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (จุฬา)
(สาม) การที่มีข่าวว่า อ. มรกต เจวจินดา ผู้แต่งได้รับหมายตำรวจให้ไปรับฟังข้อกล่าวหาที่สถานีตำรวจบางเขนในวันพุธที่ 27 ธันวาคม เวลา 18.00 น. “ข้อหาหมิ่นประมาทคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” นั้นเป็นข่าวที่น่าเศร้าสำหรับวงการประวัติศาสตร์ และเป็นการคุกคาม “เสรีภาพทางวิชาการ” เป็นอย่างยิ่ง
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
อาจารย์ประวัคิศาสตร์
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
//www.charnvitkasetsiri.com/Pridi2.htm